Articles

ปัญหาและอุปสรรคของการใช้ท่ออากาศในระบบน้ำทิ้ง

ปัญหาที่เรามักพบเจอบ่อยๆ เกี่ยวกับระบบน้ำทิ้ง คือปัญหาน้ำทิ้งไหลระบายช้า บางครั้งระบายไม่ลง  หรืออาจเจอปัญหากดชักโครกไม่ลง เกิดปัญหาท่อน้ำทิ้งมีกลิ่นเหม็น หรือ มีอากาศดันกลับ เกิดเป็นน้ำบุ๋งๆ ที่ชักโครกของห้องน้ำชั้นล่าง ซึ่งปัญหาต่างๆ เหล่านี้สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ และหนึ่งในสาเหตุหลักของปัญหาเกิดจากการติดตั้งท่ออากาศของระบบน้ำทิ้งไม่ถูกต้อง

ในการออกแบบระบบน้ำทิ้งท่ออากาศจะมีหน้าที่เติมและปล่อยอากาศให้กับ ท่อน้ำเสีย (Waste Pipe) กับท่อน้ำโสโครก (Soil Pipe)  โดยอากาศเป็นตัวแปรสำคัญของการระบายน้ำทิ้ง การเติมอากาศเข้าไปในระบบน้ำทิ้งในปริมาณที่เพียงพอสำหรับการระบายน้ำก็เพื่อที่จะช่วยรักษาสมดุลของแรงดัน ทำให้ไม่เกิดแรงดันติดลบหรือแรงดูดมากเกินไปในระบบ ถ้าเกิดแรงดันลบมากๆ จะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดเหตุการณ์น้ำในตัวดักกลิ่นถูกดูดออกไปและเกิดปัญหากลิ่นเหม็นย้อนกลับเข้ามาในอาคารที่พักอาศัยได้

 

ปัญหาการระบายน้ำไม่ดี ทำให้น้ำทิ้งระบายช้า ระบายไม่ลง สาเหตุอาจจะเกิดจาก Slope ของท่อในระบบน้ำทิ้งมีองศาที่เอียงไม่ถูกต้อง องศาที่เอียงมากหรือน้อยเกินไปสามารถส่งผลต่อการระบายน้ำได้ทั้งสิ้น  หรืออีกหนึ่งสาเหตุอาจเกิดจากแรงดันบวกที่เกิดขึ้นในระบบ โดยแรงดันบวกจะพยายามหาทางออกมาตามท่ออากาศสาขา (Vent Branch) และท่อเมนอากาศแนวดิ่ง (Vent Stack) ต่างๆ ซึ่งแรงดันบวกที่เกิดขึ้นจะถูกปล่อยออกที่ข้อต่อเขาควายหรือ VTR (Vent Through Roof) ซึ่งอยู่ที่ด้านบนหลังคาหรือชั้นดาดฟ้าของอาคาร ซึ่งผู้พักอาศัยมักจะได้กลิ่นเหม็นจากจุดนี้อยู่เป็นประจำ แต่ถ้าระบบท่ออากาศติดตั้งไม่ดีไม่มีทางระบายแรงดันบวกออกจากระบบ แรงดันบวกจะอั้นอยู่ภายในระบบทำให้การระบายน้ำแย่ลง และแรงดันบวกที่เพิ่มขึ้นจะมีแรงดันที่มากพอจนเกิดเป็นแรงดันน้ำบุ๋งๆ ดันกลิ่นเหม็นภายในท่อผ่านน้ำในชักโครกออกมาที่ห้องน้ำชั้นล่างได้

 

ในการออกแบบท่ออากาศ ท่ออากาศสาขาจะใช้ขนาด 1 – ½” นิ้ว สำหรับอ่างล้างมือ อ่างอาบน้ำ อ่างล้านจาน และขนาด 2 นิ้ว สำหรับโถส้วม และท่อเมนแนวดิ่งส่วนมากจะใช้ขนาดตั้งแต่ 4 นิ้วขึ้นไป โดยทั่วไปการออกแบบขนาดท่ออากาศจะขึ้นอยู่กับจำนวนหน่วยสุขภัฑณ์ (Fixture Units, FU) และความยาวของท่ออากาศที่ต้องการใช้งาน ซึ่งบ่อยครั้งมักจะเจอปัญหาไม่สามารถเดินท่ออากาศในระบบน้ำทิ้งได้ อาจเกิดจากตำแหน่งช่องชาร์ปอยู่ห่างจากห้องน้ำมากๆ ทำให้การเดินท่ออากาศสาขาไปที่ท่อเมนทำได้ยากขึ้น หรือห้องน้ำสาธารณะต่างๆ ที่ต้องเดินท่ออากาศจำนวนมาก หรือในบางอาคารมีพื้นที่ติดตั้งท่อต่างๆแคบหรือน้อยมากๆ

 

ระบบวาล์วเติมอากาศเดอร์โก้สามารถทดแทนท่ออากาศของระบบนน้ำทิ้ง ช่วยทำให้การออกแบบท่ออากาศของระบบน้ำทิ้งทำได้ง่ายขึ้น เพียงติดตั้งวาล์วบนท่อน้ำเสียและท่อน้ำโสโครก ก็สามารถเติมอากาศให้กับระบบน้ำทิ้งเหมือนมีท่ออากาศอยู่ใกล้กับสุขภัณฑ์

วาล์วเดอร์โก้ 1 ตัว สามารถเติมอากาศให้กับสุขภัณฑ์ได้ถึง 5 สุขภัณฑ์ ในอาคารขนาดเล็กสามารถติดตั้งวาล์วเดอร์โก้แทนข้อต่อเขาควาย หรือ VTR ด้านบนได้ ซึ่งช่วยแก้ปัญหากลิ่นเหม็นของระบบน้ำทิ้งด้านบนอาคาร และช่วยทำให้อาคารสามารถใช้งานพื้นที่ดาดฟ้า (Rooftop) ได้เต็มประสิทธิภาพมากขึ้น

 

การเลือกใช้วาล์วเดอร์โก้ทดแทนท่ออากาศ จะต้องทำตามข้อกำหนด 4 หัวข้อหลักๆ คือ

  • จุดที่ 1 ใช้ทดแทนท่ออากาศเมนแนวดิ่ง (Vent Stack)  หรือ ทดแทนข้อต่อเขาควาย (VTR)
  • จุดที่ 2 ใช้ทดแทนท่ออากาศสาขา (Vent Branch)
  • จุดที่ 3 ใช้ทดแทนตำแหน่งท่ออากาศ Relief Vent
  • จุดที่ 4 ขยายขนาดท่อ Best of Stack ตรงข้องอตัวสุดท้ายก่อนการเปลี่ยนทิศทางของน้ำทิ้งจากแนวดิ่งเป็นแนวนอน

การเลือกใช้วาล์วเดอร์โก้จะต้องได้รับการตรวจแบบหรือตรวจตำแหน่งการติดตั้งวาล์วเดอร์โก้ที่หน้างานจากวิศวกรที่มีความชำนาญ เพื่อตรวจเช็คตำแหน่งการติดตั้งวาล์วให้สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพและความครอบคลุมการใช้งานทั้งระบบ โดยสามารถติดต่อเพื่อปรึกษาได้ที่แผนกวิศวกรของบริษัทฯ (ไม่มีค่าใช้จ่าย)

วาล์วเติมอากาศ DURGO AAVs…ตัวช่วยในการออกแบบที่ทำให้คุณได้ห้องครัวที่สวยดั่งใจ

Scroll to Top