หลักการออกแบบ
หลักการออกแบบ
กราฟแรงดันลบของระบบระบายน้ำแบบเก่า (สีน้ำเงิน) แสดงลักษณะการเปลี่ยนแปลงของแรงดันอากาศภายในท่อระบายน้ำหลักแนวดิ่งขณะที่มีการระบายน้ำสำหรับระบบระบายน้ำทิ้งแบบใช้ท่ออากาศ เมื่อมีการระบายน้ำภายในท่อระบายน้ำหลักแนวดิ่ง แรงดันลบจะเกิดขึ้นและเพิ่มขึ้นตามปริมาณของน้ำที่ระบายภายในท่อ (ช่วงกราฟ A) เมื่อน้ำที่ถูกระบายถึงชั้นที่ต้องเปลี่ยนทิศทางการไหลจากแนวดิ่งเป็นแนวนอน (จุดตัด C) จะทำให้เกิดแรงดันบวกขึ้น (ช่วงกราฟ B, กราฟแรงดันบวกของระบบระบายน้ำแบบเก่า, สีแดงเข้ม)
กราฟแรงดันลบของระบบระบายน้ำที่ใช้ DURGO AAV (สีฟ้า) เมื่อติดตั้งวาล์วเติมอากาศ DURGO AAV แทนระบบท่ออากาศเดิม จากกราฟจะเห็นว่า ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของแรงดันลบและบวกภายในท่อน้ำทิ้งมีความสมดุลมากขึ้น โดยวาล์วเติมอากาศ DURGO AAV จะช่วยเติมอากาศเข้าระบบระบายน้ำทิ้ง ส่งผลให้การระบายน้ำดีขึ้นและลดแรงดันลบให้น้อยลง (ช่วงกราฟ A) เมื่อถึงจุดตัด C การขยายข้องอสุดท้ายของท่อระบายน้ำหลักแนวดิ่ง (Last Bend) จะช่วยลดแรงดันบวกให้น้อยลง (ช่วงกราฟ B, กราฟแรงดันบวกของระบบระบายน้ำหลังขยายข้องอ (Last Bend), สีแดง)
จุดวิกฤต 1 จุดที่ค่าแรงดันลบในระบบมีค่าเกิน 500 Pa ซึ่งทำให้น้ำใน Trap (ตัวดักกลิ่น) ถูกดึงออกไป
จุดวิกฤต 2 จุดที่แรงดันบวกในระบบมีค่ามากจนทำให้เกิดปรากฎการณ์แรงดันบวกดันอากาศผ่านน้ำใน Trap ของสุขภัณฑ์ที่ห้องน้ำชั้นล่างๆ หรือ Hydraulic Jump ในอาคาร (อีกหนึ่งสาเหตุของการเกิดกลิ่นเหม็น)