ปัญหาและอุปสรรคของการใช้ท่ออากาศในระบบน้ำทิ้ง

Articles

ปัญหาและอุปสรรคของการใช้ท่ออากาศในระบบน้ำทิ้ง

ปัญหาที่เรามักพบเจอบ่อยๆ เกี่ยวกับระบบน้ำทิ้ง คือปัญหาน้ำทิ้งไหลระบายช้า บางครั้งระบายไม่ลง  หรืออาจเจอปัญหากดชักโครกไม่ลง เกิดปัญหาท่อน้ำทิ้งมีกลิ่นเหม็น หรือ มีอากาศดันกลับ เกิดเป็นน้ำบุ๋งๆ ที่ชักโครกของห้องน้ำชั้นล่าง ซึ่งปัญหาต่างๆ เหล่านี้สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ และหนึ่งในสาเหตุหลักของปัญหาเกิดจากการติดตั้งท่ออากาศของระบบน้ำทิ้งไม่ถูกต้อง

ในการออกแบบระบบน้ำทิ้งท่ออากาศจะมีหน้าที่เติมและปล่อยอากาศให้กับ ท่อน้ำเสีย (Waste Pipe) กับท่อน้ำโสโครก (Soil Pipe)  โดยอากาศเป็นตัวแปรสำคัญของการระบายน้ำทิ้ง การเติมอากาศเข้าไปในระบบน้ำทิ้งในปริมาณที่เพียงพอสำหรับการระบายน้ำก็เพื่อที่จะช่วยรักษาสมดุลของแรงดัน ทำให้ไม่เกิดแรงดันติดลบหรือแรงดูดมากเกินไปในระบบ ถ้าเกิดแรงดันลบมากๆ จะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดเหตุการณ์น้ำในตัวดักกลิ่นถูกดูดออกไปและเกิดปัญหากลิ่นเหม็นย้อนกลับเข้ามาในอาคารที่พักอาศัยได้

 

ปัญหาการระบายน้ำไม่ดี ทำให้น้ำทิ้งระบายช้า ระบายไม่ลง สาเหตุอาจจะเกิดจาก Slope ของท่อในระบบน้ำทิ้งมีองศาที่เอียงไม่ถูกต้อง องศาที่เอียงมากหรือน้อยเกินไปสามารถส่งผลต่อการระบายน้ำได้ทั้งสิ้น  หรืออีกหนึ่งสาเหตุอาจเกิดจากแรงดันบวกที่เกิดขึ้นในระบบ โดยแรงดันบวกจะพยายามหาทางออกมาตามท่ออากาศสาขา (Vent Branch) และท่อเมนอากาศแนวดิ่ง (Vent Stack) ต่างๆ ซึ่งแรงดันบวกที่เกิดขึ้นจะถูกปล่อยออกที่ข้อต่อเขาควายหรือ VTR (Vent Through Roof) ซึ่งอยู่ที่ด้านบนหลังคาหรือชั้นดาดฟ้าของอาคาร ซึ่งผู้พักอาศัยมักจะได้กลิ่นเหม็นจากจุดนี้อยู่เป็นประจำ แต่ถ้าระบบท่ออากาศติดตั้งไม่ดีไม่มีทางระบายแรงดันบวกออกจากระบบ แรงดันบวกจะอั้นอยู่ภายในระบบทำให้การระบายน้ำแย่ลง และแรงดันบวกที่เพิ่มขึ้นจะมีแรงดันที่มากพอจนเกิดเป็นแรงดันน้ำบุ๋งๆ ดันกลิ่นเหม็นภายในท่อผ่านน้ำในชักโครกออกมาที่ห้องน้ำชั้นล่างได้

 

ในการออกแบบท่ออากาศ ท่ออากาศสาขาจะใช้ขนาด 1 – ½” นิ้ว สำหรับอ่างล้างมือ อ่างอาบน้ำ อ่างล้านจาน และขนาด 2 นิ้ว สำหรับโถส้วม และท่อเมนแนวดิ่งส่วนมากจะใช้ขนาดตั้งแต่ 4 นิ้วขึ้นไป โดยทั่วไปการออกแบบขนาดท่ออากาศจะขึ้นอยู่กับจำนวนหน่วยสุขภัฑณ์ (Fixture Units, FU) และความยาวของท่ออากาศที่ต้องการใช้งาน ซึ่งบ่อยครั้งมักจะเจอปัญหาไม่สามารถเดินท่ออากาศในระบบน้ำทิ้งได้ อาจเกิดจากตำแหน่งช่องชาร์ปอยู่ห่างจากห้องน้ำมากๆ ทำให้การเดินท่ออากาศสาขาไปที่ท่อเมนทำได้ยากขึ้น หรือห้องน้ำสาธารณะต่างๆ ที่ต้องเดินท่ออากาศจำนวนมาก หรือในบางอาคารมีพื้นที่ติดตั้งท่อต่างๆแคบหรือน้อยมากๆ

 

ระบบวาล์วเติมอากาศเดอร์โก้สามารถทดแทนท่ออากาศของระบบนน้ำทิ้ง ช่วยทำให้การออกแบบท่ออากาศของระบบน้ำทิ้งทำได้ง่ายขึ้น เพียงติดตั้งวาล์วบนท่อน้ำเสียและท่อน้ำโสโครก ก็สามารถเติมอากาศให้กับระบบน้ำทิ้งเหมือนมีท่ออากาศอยู่ใกล้กับสุขภัณฑ์

วาล์วเดอร์โก้ 1 ตัว สามารถเติมอากาศให้กับสุขภัณฑ์ได้ถึง 5 สุขภัณฑ์ ในอาคารขนาดเล็กสามารถติดตั้งวาล์วเดอร์โก้แทนข้อต่อเขาควาย หรือ VTR ด้านบนได้ ซึ่งช่วยแก้ปัญหากลิ่นเหม็นของระบบน้ำทิ้งด้านบนอาคาร และช่วยทำให้อาคารสามารถใช้งานพื้นที่ดาดฟ้า (Rooftop) ได้เต็มประสิทธิภาพมากขึ้น

 

การเลือกใช้วาล์วเดอร์โก้ทดแทนท่ออากาศ จะต้องทำตามข้อกำหนด 4 หัวข้อหลักๆ คือ

  • จุดที่ 1 ใช้ทดแทนท่ออากาศเมนแนวดิ่ง (Vent Stack)  หรือ ทดแทนข้อต่อเขาควาย (VTR)
  • จุดที่ 2 ใช้ทดแทนท่ออากาศสาขา (Vent Branch)
  • จุดที่ 3 ใช้ทดแทนตำแหน่งท่ออากาศ Relief Vent
  • จุดที่ 4 ขยายขนาดท่อ Best of Stack ตรงข้องอตัวสุดท้ายก่อนการเปลี่ยนทิศทางของน้ำทิ้งจากแนวดิ่งเป็นแนวนอน

การเลือกใช้วาล์วเดอร์โก้จะต้องได้รับการตรวจแบบหรือตรวจตำแหน่งการติดตั้งวาล์วเดอร์โก้ที่หน้างานจากวิศวกรที่มีความชำนาญ เพื่อตรวจเช็คตำแหน่งการติดตั้งวาล์วให้สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพและความครอบคลุมการใช้งานทั้งระบบ โดยสามารถติดต่อเพื่อปรึกษาได้ที่แผนกวิศวกรของบริษัทฯ (ไม่มีค่าใช้จ่าย)

วาล์วเติมอากาศ DURGO AAVs…ตัวช่วยในการออกแบบที่ทำให้คุณได้ห้องครัวที่สวยดั่งใจ

ท่ออากาศคืออะไร สำคัญอย่างไรกับระบบน้ำทิ้ง

Articles

ท่อระบายน้ำทิ้งภายในอาคารประกอบด้วย 3 ส่วน หลักๆ คือ

1. ท่อน้ำโสโครก (Soil Pipe)

คือ ท่อที่ใช้รับน้ำเสียจากโถส้วม โถปัสสาวะ หรือท่อที่ระบายมูลของมนุษย์

2. ท่อน้ำเสีย (Waste Pipe)

คือ ท่อที่ใช้รับน้ำเสียจาก อ่างอาบน้ำ ฝักบัวอาบน้ำ อ่างล้างชาม อ่างล้างมือ อ่างซักผ้า เครื่องซักผ้า หรือท่อที่ไม่มีมูลของมนุษย์

3. ท่ออากาศ (Vent Pipe)

ท่อที่ต่อกับท่อระบายน้ำทิ้งใกล้กับตัวดักกลิ่น (Trap) 

ท่ออากาศ (Vent Pipe) คือช่องทางสำหรับให้อากาศผ่านเข้า-ออกในระบบน้ำทิ้ง โดยท่ออากาศมีหน้าที่รักษาความดันภายในของระบบน้ำทิ้งให้มีการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด การที่ระบบน้ำทิ้งมีอากาศเข้ามาในระบบเพียงพอจะช่วยทำให้การระบายน้ำระบายได้ดี แต่เมื่ออากาศในระบบไม่เพียงพอจะทำให้แรงดันของระบบน้ำทิ้งเปลี่ยนแปลง และเมื่อเปลี่ยนแปลงมากขึ้นจะเกิดแรงดูดที่มากพอที่จะไปดูดน้ำในตัวดักกลิ่นออกไป และทำให้เกิดปัญหากลิ่นเหม็นย้อนกลับเข้าสู่อาคารได้

อากาศผ่านเข้า-ออกที่ท่ออากาศที่ต่อเข้ากับท่อระบายน้ำทิ้ง โดยทั่วไปท่ออากาศจะถูกต่อออกจากตัวอาคารที่ชั้นบนสุดหรือชั้นดาดฟ้า หรือที่เรียกกันว่า เขาควาย หรือ VENT THROUGH ROOF (VTR.)  โดยตามหลักทางวิศวกรรมท่ออากาศควรต่อออกไปด้านนอกอาคารและให้อยู่สูงกว่าอาคารอย่างน้อย 150 มม. หรือให้ระยะมากพอที่จะไม่มีกลิ่นมารบกวน

ขนาดของท่ออากาศในระบบน้ำทิ้ง ตามหลักการออกแบบการคำนวณจะอ้างอิงจากปริมาณค่าหน่วยสุขภัณฑ์ (Fixture Units, FU) และความยาวท่อที่ใช้ โดยทั่วไปท่อสาขา (Branch) จะนิยมใช้ที่ขนาด 1 ¼ นิ้ว จนถึง 2 นิ้ว และท่อประธาน (Main) จะนิยมใช้ขนาด 3 นิ้วขึ้นไป และในการออกแบบระบบท่ออากาศยังต้องคำนึงถึงตำแหน่งและแนวทางการเดินท่ออากาศเพื่อให้สามารถติดตั้งง่ายและใช้งานได้ดีอีกด้วย

 

ปัจจุบันการออกแบบระบบท่ออากาศทำได้ง่ายขึ้น เพียงแค่เลือกใช้ระบบวาล์วเติมอากาศเดอร์โก้ทดแทนท่ออากาศในระบบน้ำทิ้ง วาล์วเดอร์โก้ทำหน้าที่ป้องกันน้ำในตัวดักกลิ่น (Trap) ไม่ให้โดนดูดออกไป โดยวาล์วจะเปิดรับอากาศเมื่อระบบต้องการอากาศ และวาล์วจะปิดสนิทเมื่อระบบอยู่ในสภาวะสมดุล ทำให้มั่นใจได้ว่าจะไม่มีกลิ่นเหม็นออกจากตัววาล์ว

การใช้งานเพียงติดตั้งวาล์วเดอร์โก้บนท่อน้ำเสียหรือท่อน้ำทิ้ง (โสโครก) วาล์วเดอร์โก้ 1 ตัว ทำหน้าที่รับอากาศเพื่อเติมให้กับสุขภัณฑ์ได้ถึง 5 สุขภัณฑ์ รวม Floor Drain อีก 1 จุด

วาล์วเดอร์โก้มีทีมวิศวกรออกแบบสามารถให้คำปรึกษาและช่วยออกแบบระบบระบายน้ำทิ้งโดยใช้วาล์วเดอร์โก้แทนท่ออากาศได้ทั้งระบบหรือในจุดที่มีปัญหาการเดินท่ออากาศ มั่นใจเลือกใช้ระบบวาล์วเติมอากาศเดอร์โก้รับประกันสินค้ายาวนาน 10 ปี สินค้าคุณภาพจากประเทศสวีเดน มีการใช้งานมายาวนานกว่า 40 ปี

วาล์วเติมอากาศ DURGO AAVs…ทดแทนท่ออากาศในระบบน้ำทิ้ง สินค้าคุณภาพจากสวีเดน